FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
สมาชิกรัฐสภา เข้าร่วมการประชุมภาครัฐสภาในโอกาสการประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยสถานภาพสตรี สมัยที่ 65 ผ่านระบบการประชุมทางไกล Interprefy จัดโดยสหภาพรัฐสภาร่วมกับองค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 24 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564

เมื่อวันอังคารที่ 23 มีนาคม 2564 เวลา 19.00 – 21.00 นาฬิกา ณ ห้องประชุมสำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ ชั้น 3 อาคารรัฐสภา สมาชิกรัฐสภา ประกอบด้วย นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ สมาชิกวุฒิสภา และ นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เข้าร่วมการประชุมภาครัฐสภาในโอกาสการประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยสถานภาพสตรี สมัยที่ 65 (The Parliamentary Meeting on the occasion of the 65th Commission on the Status of Women – CSW65) ผ่านระบบการประชุมทางไกล Interprefy จัดโดยสหภาพรัฐสภา (Inter-Parliamentary Union : IPU) ร่วมกับองค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ (UN Women) โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมกว่า 80 คน จากนานาประเทศทั่วโลก

การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อติดตามความก้าวหน้าในการเสริมพลังสตรี (Women empowerment) ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ภายใต้หัวข้อหลัก “มาตรการเพื่อบรรลุความเท่าเทียมระหว่างเพศในการมีส่วนร่วมทางการเมืองในโลกยุคหลัง COVID-19 (What will it take to reach gender parity in political participation in a post-COVID-19 world?)" สำหรับผลลัพธ์ที่รวบรวมได้จากการประชุมจะนำไปเสนอต่อคณะกรรมาธิการว่าด้วยสถานภาพสตรี สมัยที่ 65 ของสหประชาชาติ ซึ่งมีกำหนดประชุมในเดือนมิถุนายน 2564 ต่อไป

ในการนี้ สมาชิกรัฐสภาไทยได้ร่วมอภิปรายในการประชุม ช่วงที่หนึ่ง ในหัวข้อ “การมีส่วนร่วมของสตรีในรัฐสภาในปี 2564 และผลกระทบของ COVID-19 (Women’s participation in parliament in 2021 and the impact of COVID-19)” นางสุวรรณี  สิริเวชชะพันธ์ สมาชิกวุฒิสภา และกรรมาธิการสหภาพรัฐสภาสตรี (Member of the IPU Bureau of Women Parliamentarians) ได้อภิปรายเกี่ยวกับความคืบหน้าของการดำเนินการเพื่อส่งเสริมพลังสตรีของไทยและรัฐสภาไทย ซึ่งให้ความสำคัญกับการดำเนินการตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่กำหนดให้รัฐจัดทำงบประมาณโดยคำนึงถึงมิติหญิงชาย (Gender Responsive Budget : GRB) เพื่อความเป็นธรรมกับทุกกลุ่มในสังคมไทย ตลอดจนบัญญัติให้ความเท่าเทียมเกิดขึ้นกับทุกคนโดยไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งเป็นหลักการที่นำมาสู่พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 ในฐานะกฎหมายฉบับแรกของไทยที่ห้ามมิให้มีการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ ทั้งนี้ ความก้าวหน้าของสตรีในรัฐสภาไทยดำเนินไปอย่างเข้มแข็ง สะท้อนจากบทบาทของ “ชมรมสมาชิกรัฐสภาสตรีไทย” โดยเฉพาะในยามวิกฤติ COVID-19 ซึ่งชมรมได้จัดกิจกรรมเพื่อบรรเทาความทุกข์ยากของประชาชนในพื้นที่โดยรอบรัฐสภา เมื่อเดือนพฤษภาคม 2563 รวมถึงพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ซึ่งระบุให้พรรคการเมืองจัดทำบัญชีรายชื่อโดยคำนึงความเท่าเทียมระหว่างชาย-หญิง ส่งผลให้ปัจจุบันมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสตรี คิดเป็นร้อยละ 15.8 ในช่วงท้าย นางสุวรรณีฯ ได้เรียกร้องให้รัฐสภาทั่วโลกส่งเสริมสมาชิกรัฐสภาสตรี ด้วยการยกระดับขีดความสามารถในด้านวิชาการและองค์ความรู้ทางสารสนเทศเพื่อผลักดันให้สตรี เด็กผู้หญิง และกลุ่มประชากรที่เปราะบางเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมืองในภาวะของการแพร่ระบาดใหญ่นี้และต่อไปในอนาคต  

ต่อมา ในการประชุมช่วงที่สอง หัวข้อ “ลำดับความสำคัญของมาตรการเพื่อการบรรลุความเท่าเทียมระหว่างเพศในรัฐสภา (Priority actions for gender parity in parliaments)” นายธัญวัจน์  กมลวงศ์วัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และประธานคณะอนุกรรมาธิการเพื่อพิจารณาศึกษาปัญหาด้านเด็ก เยาวชน สตรี และผู้มีความหลากหลายทางเพศ สภาผู้แทนราษฎร ได้ร่วมอภิปรายเกี่ยวกับการดำเนินการด้านนิติบัญญัติเพื่อบรรลุความเท่าเทียมระหว่างเพศ โดยเฉพาะความเท่าเทียมที่ครอบคลุมไปถึงกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT) โดยเน้นย้ำถึงความก้าวหน้าของรัฐสภาไทยที่ผลักดันวาระความเท่าเทียมทางเพศระหว่างหญิง-ชาย และกลุ่ม LGBT ในช่วงเกือบสองปีผ่านมา อาทิ ปี 2562 ถือเป็นหมุดหมายที่สำคัญในประวัติศาสตร์ของรัฐสภาไทย ที่ผู้มีความหลากหลายทางเพศได้รับเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรก รวมทั้ง เป็นครั้งแรกที่มีการปรับเปลี่ยนชื่อและอำนาจหน้าที่คณะกรรมาธิการสามัญของสภาผู้แทนราษฎรให้ครอบคลุมคำว่า  “ผู้มีความหลากหลายทางเพศ” ได้สำเร็จ นอกจากนั้น ยังได้แสดงความมุ่งหวังต่อที่ประชุมว่าในอนาคตอันใกล้รัฐสภาไทยจะได้ผ่านกฎหมายคู่ชีวิต ที่เสนอโดยคณะรัฐมนตรี หรือได้พิจารณาเห็นชอบ การแก้ไขบางมาตราในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในประเด็นที่ว่าด้วยการสมรสเท่าเทียม ซึ่งหากทำสำเร็จประเทศไทยจะถือเป็นประเทศแรก ๆ ในเอเชียที่ยอมรับการแต่งงานของบุคคลเพศเดียวกันในฐานะคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย ตลอดจนความพยายามในการผลักดันกฎหมายรับรองเพศ ที่อนุญาตให้บุคคลสามารถเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อให้ตรงกับเพศสภาพได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งทั้งหมดนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญของความพยายามในการปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน รวมทั้งการยึดหลักสิทธิมนุษยชนที่ให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์มากกว่าเพศสภาพ 

เครดิตข่าว : กลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
เครดิตภาพ : กลุ่มงานสื่อมวลชน สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
Flip E-book ระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการพิจารณา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ขอเชิญสมาชิกตรวจสำเนารายงานการประชุม ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
สำนักงบประมาณของรัฐสภา
ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 (E-Book)
คลิกดูข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานตัว
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats