FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ
นางพิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ สมาชิกวุฒิสภาและกรรมการบริหารสหภาพรัฐสภา เข้าร่วมการประชุมคณะ กมธ. เตรียมการจัดการประชุมสุดยอดประธานรัฐสภาสตรี ครั้งที่ 13 (แบบกายภาพ) และการประชุมคณะ กมธ.เตรียมการจัดการประชุมประธานรัฐสภาโลก ครั้งที่ 5 (แบบกายภาพ)

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 1 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564

เมื่อวันศุกร์ที่ 30 เมษายน 2564 เวลา 19.00 - 20.00 นาฬิกา นางพิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ สมาชิกวุฒิสภาและกรรมการบริหารสหภาพรัฐสภา ได้เข้าร่วมการประชุมครั้งที่สองของคณะ กมธ.เตรียมการจัดการประชุมสุดยอดประธานรัฐสภาสตรี ครั้งที่ 13 (แบบกายภาพ) (Preparatory Committee for the In-Person Segment of the 13th Summit of Women Speakers of Parliament – 13SWSP) โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุม จำนวน 7 คน ซึ่งเป็นสมาชิกสตรีของคณะ กมธ.เตรียมการจัดการประชุมประธานรัฐสภาโลก ครั้งที่ 5 ประกอบด้วย เบลเยียม อินโดนีเซีย นอร์เวย์ อุรุกวัย เยอรมนี และไทย โดยมี Ms. Tone Wilhelmsen Troen ประธานรัฐสภานอร์เวย์ ทำหน้าที่ประธานการประชุม  และเลขาธิการสหภาพรัฐสภาเข้าร่วมการประชุมด้วย

ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้พิจารณาเกี่ยวกับการเตรียมการจัดการประชุมสุดยอดประธานรัฐสภาสตรี ครั้งที่ 13 (แบบกายภาพ) โดยที่ประชุมฯ ส่วนใหญ่อภิปรายสนับสนุนรูปแบบการประชุมแบบ Doha Style Debate ที่มีลักษณะเป็น Interactive และกระตุ้นให้มีการอภิปรายมากยิ่งขึ้น รวมทั้งยังอภิปรายสนับสนุนเอกสารหัวข้อหลัก (Theme) และร่างกำหนดการประชุมที่เน้น 3 ประเด็น คือ (1) บทบาทการสนับสนุนที่สำคัญของผู้หญิงในการเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (2) ความเท่าเทียมระหว่างเพศ โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมทางการเมือง การสร้างพลังทางเศรษฐกิจ และความรุนแรงที่มีต่อผู้หญิงและเด็กหญิง และ (3) ความจำเป็นและความสนใจของผู้หญิงและเด็กหญิง ซึ่งเป็นกลุ่มคนเปราะบาง นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ยังได้พิจารณาเอกสารข้อเสนอสำหรับการอภิปรายย่อย (Panel Discussion) หัวข้อ “Towards a New Social Compact for Gender Equality” ตามที่ได้เสนอแนะให้เพิ่มเติมประเด็นความเท่าเทียมระหว่างเพศ (Gender Equality) ในการประชุมประธานรัฐสภาโลก ครั้งที่ 5 (แบบกายภาพ)

โอกาสนี้ นางพิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ ได้ร่วมอภิปรายต่อที่ประชุมฯ เพื่อแบ่งปันข้อมูลและประสบการณ์ของประเทศไทย มีใจความสำคัญว่า “สภาผู้แทนราษฎร ได้มีการลงมติเห็นชอบ พ.ร.ก. 3 ฉบับ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วงเงิน 1.9 ล้านล้านบาท ได้แก่ (1) พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พ.ร.ก. เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท) (2) พ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พ.ร.ก. Softloan 500,000 ล้านบาท ให้กับ SMEs) และ (3) พ.ร.ก.การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. 2563 (พ.ร.ก.ตั้งกองทุนรักษาเสถียรภาพของตราสารหนี้บริษัทเอกชน 400,000 ล้านบาท) นอกจากนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้มีโครงการต่าง ๆ มากมายเพื่อส่งเสริมความช่วยเหลือทางการเงินแก่ครัวเรือน อาทิ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวเสนอโอกาสการจ้างงานระยะสั้นอย่างน้อย 200 ตำแหน่ง สำหรับผู้ที่ตกงานในช่วงการระบาดของโควิด-19 อีกทั้ง เราควรเน้นให้เห็นความสำคัญในการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศและการเข้าถึงวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างเท่าเทียม โดยเฉพาะในกลุ่มประชากรเปราะบาง อาทิ สตรีและเด็กหญิง”

จากนั้น ระหว่างเวลา 20.00 - 22.00 น. นางพิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ ได้เข้าร่วมการประชุมครั้งที่สามของการประชุมคณะ กมธ.เตรียมการจัดการประชุมประธานรัฐสภาโลก ครั้งที่ 5 (แบบกายภาพ) (Third Meeting of the Preparatory Committee for the In-Person Segment of the Fifth World Conference of Speakers of Parliament – 5WCSP) ซึ่งมีผู้เข้าร่วมการประชุม จำนวน 19 คน ประกอบด้วย เบลเยียม เอกวาดอร์ กายอานา ไอซ์แลนด์ อินโดนีเซีย นอร์เวย์ ยูกันดา อุรุกวัย จีน ออสเตรีย เยอรมนี มอลโดวา ชิลี ไทย และซิมบับเว โดยมี Mr. Duarte  Pacheco ประธานสหภาพรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุมและเลขาธิการสหภาพรัฐสภา รวมทั้งตัวแทนของประธานคณะกรรมการการประชุมยุวสมาชิกรัฐสภา และตัวแทนของเลขาธิการสหประชาชาติเข้าร่วมการประชุมด้วย

ที่ประชุมฯ ได้พิจารณารูปแบบการอภิปรายทั่วไป (General Debate) และหัวข้อการอภิปรายย่อย 5 วาระ ซึ่งสำนักงานเลขาธิการสหภาพรัฐสภาได้ปรับร่างกำหนดการประชุมโดยเพิ่มหัวข้อความเท่าเทียมระหว่างเพศ (Gender Equality) ตามมติของที่ประชุมฯ ครั้งที่ผ่านมา ที่ประชุมฯ ส่วนใหญ่อภิปรายสนับสนุนการจัดประชุมในรูปแบบ Doha Style Debate ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมการประชุมได้แสดงความคิดเห็นแบบมีปฏิสัมพันธ์และทำให้การประชุมน่าสนใจมากยิ่งขึ้น และที่ประชุมฯ ยังเห็นชอบหัวข้อการอภิปรายย่อยทั้ง 5 วาระ โดยเสนอแนะให้เน้นย้ำประเด็นความมั่นคง การเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเปิดโอกาสให้ประธานรัฐสภาที่เป็นคนรุ่นใหม่ได้เข้าร่วมในคณะผู้อภิปราย (Panelist) ของการอภิปรายย่อยแต่ละวาระด้วย

ที่ประชุมฯ ยังได้พิจารณาข้อเสนอสำหรับการจัดทำเอกสารผลลัพธ์การประชุม (Outcome Document) โดยมีสมาชิกคณะ กมธ. นำส่งข้อคิดเห็น จำนวน 9 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย เบลเยียม จีน เยอรมนี อินโดนีเซีย นอร์เวย์ ไทย ซิมบับเว และไอซ์แลนด์ โดยที่ประชุมฯ สนับสนุนข้อเสนอแนะของสมาชิกคณะ กมธ.เตรียมการฯ จากเยอรมนีและซิมบับเว ที่ว่าข้อคิดเห็นของประเทศต่าง ๆ มีประเด็นคล้ายคลึงและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อาทิ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน การฟื้นฟูจากการแพร่ระบาดใหญ่ด้วยแนวทางสีเขียว การส่งเสริมระบบดิจิทัล จึงเห็นควรจัดทำเอกสารผลลัพธ์การประชุมที่กระชับ มุ่งเน้นแนวทางเดียวกัน และนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมเพื่อให้ได้รับความเห็นชอบเป็นฉันทามติจากที่ประชุมประธานรัฐสภาโลก ครั้งที่ 5 ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้มอบหมายให้สำนักงานเลขาธิการสหภาพรัฐสภาจัดทำร่างแรกของเอกสารผลลัพธ์การประชุม พร้อมทั้งจัดทำร่างหนังสือเชิญประชุม ร่างกำหนดการ และข้อเสนอรายชื่อคณะผู้อภิปราย (Panelist) โดยแจ้งเวียนเอกสารดังกล่าวให้กับคณะ กมธ.เตรียมการฯ ล่วงหน้าก่อนการประชุมครั้งถัดไปในช่วงกลางเดือน มิ.ย. 

โอกาสนี้ นางพิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อการจัดทำเอกสารผลลัพธ์ โดยมีใจความสำคัญว่า “รัฐสภาไทยเห็นว่าควรเน้นย้ำบทบาทของรัฐสภาในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวมทั้งความจำเป็นในความร่วมมือกันระหว่างองค์การระหว่างประเทศและความร่วมมือภายใต้ระบบพหุภาคีนิยมเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว นอกจากนี้ ยังเห็นว่าสหภาพรัฐสภาและรัฐสภาประเทศต่าง ๆ ควรจะได้มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนความพยายามของทั้งองค์การสหประชาชาติและองค์การการค้าโลกในการรับมือกับวิกฤตการณ์ด้านสาธารณสุขที่โลกกำลังเผชิญอยู่ขณะนี้ สมาชิกรัฐสภาทุกคนควรดำเนินการให้เกิดการทำงานที่เป็นรูปธรรมเพื่อบรรเทาผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจและสังคม ประเทศไทยจึงขอเน้นความสำคัญในเรื่องการลงทุนวิจัยและพัฒนาวัคซีน รวมทั้งสนับสนุนองค์ความรู้ในเรื่องดังกล่าวจากประเทศพัฒนาแล้วสู่ประเทศกำลังพัฒนาด้วย”

เครดิต : ภาพและข่าวโดยกลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
รวมกฎหมายประจำปี
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ
หอสมุดรัฐสภา
หนังสือและสื่อเผยแพร่ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
เยี่ยมชมรัฐสภา
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์
ช่องทางการ ติดต่อสอบถาม ชมเชย เสนอแนะ ร้องเรียน เกี่ยวกับการดำเนินงานของสำนักงานฯ
ช่องทางการแจ้งเบาะแสร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่สำนักงานฯ
กระดานถามตอบ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
คุณธรรมคนสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมุ่งสู่สำนักงานสีเขียว
สหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา จำกัด
ระบบอินทราเน็ต สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
E-Learning พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats