FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
ศ.โกวิทย์ พวงงาม รองประธานคณะ กมธ. การกระจายอำนาจ การปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารราชการรูปแบบพิเศษ คนที่หนึ่ง พร้อมด้วย นายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง กมธ. แถลงข่าวกรณีการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... จำนวน 13 ฉบับ

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 25 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564

วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน 2564 เวลา 10.55 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา ศ.โกวิทย์ พวงงาม รองประธานคณะ กมธ. การกระจายอำนาจ การปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารราชการรูปแบบพิเศษ คนที่หนึ่ง พร้อมด้วย นายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง กมธ. แถลงข่าวกรณีการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... จำนวน 13 ฉบับ ผ่านเพียง 1 ฉบับว่า
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน ได้แก่ 
1. การเพิ่มเติมการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในกระบวนการยุติธรรม
2. การให้ชุมชนมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายอย่างเหมาะสม ในการฟ้องหน่วยงานของรัฐ
3. การกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมให้เกษตรกรที่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิในที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมอย่างทั่วถึงและการจัดหาแหล่งน้ำอย่างเพียงพอ
4. สิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราวของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาย่อมได้รับความคุ้มครองอย่างรวดเร็ว
5. การให้ประชาชนได้รับรายได้ขั้นพื้นฐานถ้วนหน้าอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตอย่างทั่วถึง

สำหรับประเด็นการกระจายอำนาจได้ขอแก้ไขเพิ่มเติมแนวนโยบายแห่งรัฐ ดังนี้
1. จังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชน
2. การจัดบริการสาธารณะ และกิจกรรมสาธารณะใดที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำไม่ได้ ขอให้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น การทหาร ความมั่นคง กิจการต่างประเทศ ศาล และระบบการเงิน การคลัง เป็นต้น 
3. การแก้ไขเพิ่มเติมในมาตรา 254  อาทิ
3.1 การจัดให้มีกฎหมายรายได้ท้องถิ่น
3.2 การกำหนดหน้าที่และอำนาจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มขึ้นและไม่ซ้ำซ้อนกับรัฐ
3.3 การกำหนดสัดส่วนรายได้ระหว่างรัฐกับท้องถิ่น

ทั้งนี้ ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรู้สึกผิดหวังและเสียดายที่ไม่อาจต่อสู้เพื่อประชาชนและทำให้เกิดประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ได้อย่างแท้จริง เนื่องจากหลายประเด็นจำเป็นต้องได้รับการบรรจุเข้าไปในรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายหลักของประเทศ ก่อนจะตรากฎหมายลูกขึ้นมา จึงตั้งข้อสังเกตว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มีเพื่อใครกันแน่ อีกทั้งยังเป็นการแสดงให้สังคมเห็นว่าความยากลำบากในการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ใช่เรื่องเล็กอีกต่อไป เพราะสมาชิกวุฒิสภาต้องพิจารณาเห็นชอบไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 หรือ 84 เสียง จึงจะผ่านมติเห็นชอบของรัฐสภา ส่งผลให้หลายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของประชาชนถูกตีตกไปอย่างน่าเสียดาย การกระทำดังกล่าวของผู้มีอำนาจของบ้านเมืองกำลังทำให้รัฐธรรมนูญด้อยค่า และเป็นอำนาจที่กำลังทำลายระบบของฝ่ายนิติบัญญัติ

download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
Flip E-book ระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการพิจารณา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ขอเชิญสมาชิกตรวจสำเนารายงานการประชุม ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
สำนักงบประมาณของรัฐสภา
ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 (E-Book)
คลิกดูข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานตัว
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats