FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
"สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าร่วมการเสวนาออนไลน์ ของสหภาพรัฐสภาในโอกาสรำลึกการครบรอบ 20 ปี แห่งการสูญหายของสมาชิกรัฐสภาเอริเทรีย จำนวน 11 คน"

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 21 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564

เมื่อวันจันทร์ที่ 20 กันยายน 2564 เวลา 20.00 - 21.30 นาฬิกา (ตามเวลาในประเทศไทย) น.ส.เพชรดาว  โต๊ะมีนา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เข้าร่วมกิจกรรมการเสวนาออนไลน์ จัดโดยสหภาพรัฐสภา (IPU) ในโอกาสรำลึกวันที่ 18 กันยายน ซึ่งเป็นวันครบรอบ 20 ปี แห่งการสูญหายของสมาชิกรัฐสภาเอริเทรีย จำนวน 11 คน (Commemorative event marking the 20th anniversary since the disappearance of 11 Eritrean parliamentarians) 

โดยเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 44 หรือ 20 ปีที่แล้ว สมาชิกรัฐสภาเอริเทรีย จำนวน 11 คน ถูกลักพาตัวและนำไปกักขังจองจำโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรม และไม่สามารถติดต่อกับโลกภายนอกได้ ด้วยสาเหตุที่ไปร่วมลงนามในจดหมายถึงประธานาธิบดีเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย และจนถึงบัดนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดถึงชะตากรรมของสมาชิกรัฐสภาดังกล่าว แม้จะมีความพยายามจากสหภาพรัฐสภาในการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยคณะกรรมาธิการสหภาพรัฐสภาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสมาชิกรัฐสภา (The IPU Committee on the Human Rights of Parliamentarians : CHRP) หรือจากองค์การอื่น ๆ รวมทั้งบรรดาสมาชิกในครอบครัวของผู้สูญหายแล้วก็ตาม ล่าสุด มติของคณะกรรมาธิการฯ เมื่อเดือน มี.ค. 64 มอบหมายเลขาธิการสหภาพรัฐสภา ทำหน้าที่ประสานไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่คาดว่าจะสามารถให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และพยายามสร้างความตระหนักของประชาคมระหว่างประเทศต่อกรณีดังกล่าว

สำหรับการเสวนาออนไลน์ได้นำผู้เข้าร่วมกิจกรรมย้อนอดีตเพื่อทบทวนเหตุการณ์ดังกล่าวเมื่อยี่สิบปีที่แล้ว โดยการรับฟังประสบการณ์ตรงจากสมาชิกในครอบครัวของผู้สูญหาย Ms. Hanna Petros Solomon บุตรสาวของอดีตสมาชิกรัฐสภาเอริเทเรีย Mr. Petros Solomon บอกเล่าถึงความเจ็บปวดไม่เฉพาะกับตนเองแต่กับระบอบประชาธิปไตยของประเทศ ซึ่งเป็นมรดกอันเลวร้ายที่บั่นทอนการพัฒนาและความหวังของชาติ ทั้งยังสั่นคลอนเสถียรภาพในการดำรงชีวิตอย่างปกติสุขทำให้ผู้คนอพยพลี้ภัยเป็นจำนวนมาก ในปี 2544 ระบบการปกครองของเอริเทรีย ภายใต้ประธานาธิบดี  Isaias Afwerki ได้กลายเป็นระบอบเผด็จการรวบอำนาจแบบเบ็ดเสร็จและปลีกตัวออกห่างจากประชาคมโลก ขณะที่วีดิทัศน์ของ Mr. Ibrahim Mahmoud Ahmed ผู้ลี้ภัยทางการเมือง ทายาทของ Mr. Ibrahim Mahmoud Sherifo อดีตสมาชิกรัฐสภาเอริเทรีย สะท้อนผลร้ายของระบบการปกครองซึ่งปิดปากสมาชิกรัฐสภารัฐสภาที่มุ่งหวังให้รัฐบาลเคารพสิทธิของประชาชนและหลักนิติรัฐ ทั้งเล็งเห็นหนทางเบื้องหน้าที่ยังพอเป็นความหวังผ่านกลไกของสหภาพรัฐสภา ซึ่ง Mr. Nassirou Bako-Arifari ในฐานะประธาน CHRP ได้ย้ำว่า IPU จะมุ่งมั่นเดินหน้าเพื่อติดตามและต่อสู้กรณีสมาชิกรัฐสภาเอริเทรียทั้ง 11 คน ดังกล่าวต่อไป 

จากนั้น Mr. Habte Hagos ประธานเครือข่าย Eritrea Focus กล่าวถึงบทบาทของ องค์กร Eritrea Focus ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2557 มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในเอริเทรียโดยเฉพาะ และมีปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกรัฐสภาในสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อรัฐบาลเอริเทรีย ความสำเร็จที่สำคัญ คือ การก่อตั้ง “กลุ่มรัฐสภาเพื่อเอริเทรีย (All-Party Parliamentary Group (APPG) on Eritrea)” ภายในรัฐสภาสหราชอาณาจักร เมื่อปี 2559 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการรวมกลุ่มในลักษณะดังกล่าว ส่งผลให้มีช่องทางในการสื่อสารไปยังประชาคมระหว่างประเทศ และเปิดให้รัฐสภาสหราชอาณาจักรแสวงหาแนวปฏิบัติที่เหมาะสม  Eritrea Focus ยังมีผลงานที่สนใจ อาทิ รายงานวิจัยเกี่ยวกับปัญหาการดำรงอยู่ของระบบทาสในเอริเทรีย  การจัดประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการสร้างประชาธิปไตยในเอริเทรีย 

ในการนี้ น.ส.เพชรดาว โต๊ะมีนา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นโดยสะท้อนผ่านกระบวนการพิจารณาตรากฎหมายของประเทศไทยซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้รับหลักการร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. .... เป็นครั้งแรกของประเทศไปเมื่อไม่กี่วันมานี้ จากประสบการณ์ตรงของตนที่คนในครอบครัวถูกบังคับให้สูญหาย ต้องรอความยุติธรรมถึง 3 ชั่วอายุคนกว่าที่กฎหมายว่าด้วยเรื่องนี้จะเข้าสู่กระบวนการของฝ่ายนิติบัญญัติ และจนบัดนี้ยังคงต้องต่อสู้ในเรื่องนี้เพื่อครอบครัวต่อไป ตนเข้าใจอย่างสุดซึ้งถึงความสูญเสียและสภาพจิตใจของสมาชิกในครอบครัวของผู้สูญหายซึ่งเป็นสมาชิกรัฐสภาเอริเทรีย ทั้ง 11 คน และแสดงความหวังว่าทุกประเทศจะผลักดันให้มีกฎหมายเพื่อจัดการกับปัญหาการบังคับให้บุคคลสูญหายนี้ต่อไป

อนึ่ง ในรายงานฉบับล่าสุดของ CHRP เมื่อเดือน มี.ค. 64 ได้เรียกร้องในประเด็นสำคัญ ได้แก่ การเคารพสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของสมาชิกรัฐสภาเอริเทรียทั้ง 11 คน การให้มีรัฐธรรมนูญและรัฐสภาตามระบอบประชาธิปไตย และการส่งสัญญาณไปยังประชาคมรัฐสภาระหว่างประเทศ ตั้งแต่รัฐสภาสมาชิกสหภาพรัฐสภา ผู้สังเกตการณ์ถาวร และสมัชชารัฐสภาทั้งหลาย ในการกำหนดมาตรการที่เป็นรูปธรรมต่อกรณีดังกล่าว ซึ่งรวมถึงการส่งคณะผู้แทนในภารกิจทางการทูตเพื่อสร้างความตระหนักต่อสาธารณชน โดยคาดหวังที่จะได้รับความช่วยเหลือจากองค์การทั้งในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้

เครดิตข่าวและภาพ : กลุ่มงานสหภาพรัฐสภาสำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ
download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
Flip E-book ระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการพิจารณา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ขอเชิญสมาชิกตรวจสำเนารายงานการประชุม ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
สำนักงบประมาณของรัฐสภา
ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 (E-Book)
คลิกดูข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานตัว
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats