FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
คณะผู้แทนรัฐสภาไทยเข้าร่วมการประชุมระดับโลกของภาครัฐสภาว่าด้วยการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ครั้งที่ 1 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นวันที่สอง

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 30 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564

เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2564 เวลา 18.00 – 20.30 นาฬิกา คณะผู้แทนรัฐสภาไทย ประกอบด้วย นายอิสระ เสรีวัฒนวุฒิ และ น.ส.สรัสนันท์ อรรณนพพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยนางพิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ และ ศ.เกียรติคุณไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์  สมาชิกวุฒิสภา เข้าร่วมการประชุมระดับโลกของภาครัฐสภาว่าด้วยการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ครั้งที่ 1  (First Global Parliamentary Meeting on Achieving the SDGs) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จัดโดยสหภาพรัฐสภาร่วมกับรัฐสภาอินโดนีเซีย เป็นวันที่สอง โดยดำเนินการประชุมตามวาระต่อเนื่องจากการประชุมวันแรก และแบ่งการอภิปรายออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้ 
 
การประชุมช่วงที่ 4 ภายใต้หัวข้อ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคือความจริงและรุนแรงขึ้น : เราจะทำอะไรเพื่อแก้ปัญหานี้ (Climate change is real and it’s intensifying: What are we doing about it?)  เริ่มต้นขึ้นโดยการนำเสนอของ Ms. Maisa Rojas ผู้อำนวยการศูนย์สภาพภูมิอากาศและการฟื้นฟู มหาวิทยาลัยชิลี และผู้ประสานงานการจัดทำรายงานการประเมินสถานการณ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (คณะทำงานกลุ่มที่ 1) ในการประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 6 (The  6th Assessment Report of the Intergovernmental Panel on Climate Change :IPCC) ซึ่งได้กล่าวถึงผลการวิจัยสภาพภูมิอากาศในช่วง 50 ปี ที่ผ่านมา พบว่า วิกฤตโลกร้อนมีอุณหภูมิสูงขึ้นมากกว่า 1.5 องศาเซลเซียส อันก่อให้เกิดการละลายของน้ำแข็งบนเปลือกโลก ระดับน้ำในมหาสมุทรเพิ่มสูงขึ้น และการลดลงของปริมาณออกซิเจนในมหาสมุทร  ซึ่งส่งผลกระทบต่อการมีอยู่ของสัตว์โลกใต้ทะเล และปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อมวลมนุษยชาติในทุกทิศทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประสบกับปัญหาภัยพิบัติขนาดใหญ่ รุนแรง และมีความถี่มากขึ้นกว่าเดิมในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ รายละเอียดของการวิจัยในรายงานการประเมินสถานการณ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศดังกล่าวจะถูกนำเสนอต่อที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 (COP26) ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงเดือนต.ค. ถึง พ.ย. ที่จะถึงนี้ต่อไป
 
การประชุมช่วงที่ 5 หัวข้อ การลงทุนในอนาคต : สู่ความยั่งยืนและการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง (Investing in the future: Towards a sustainable and resilient recovery of our economies) เริ่มต้นขึ้นโดยการนำเสนอของ Mr. Andrew Raine หัวหน้าฝ่ายกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ซึ่งกล่าวถึงข้อมูลจากการรวบรวมของสหประชาชาติพบว่าการลงทุนของภาครัฐบาลทั่วโลกว่าด้วยการพัฒนามีจำนวนรวมกว่า 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตาม ในด้านงบประมาณการลงทุนของภาครัฐพบว่า ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของภาครัฐที่ได้ลงทุนไปทั้งในแง่เศรษฐกิจและสังคมนั้น มีเพียง 1 ใน 3 ส่วน ที่อาจกล่าวได้ว่าสนับสนุนหรือสอดคล้องต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสีเขียว อีกทั้งยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวที่สามารถเห็นเป็นรูปธรรมเนื่องจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังคงมีปริมาณมาก และนานาประเทศยังไม่สามารถปฏิบัติตามเป้าหมายที่ได้เคยกำหนดไว้ในข้อตกลงปารีส ทั้งนี้ Mr. Andrew Raine ได้เน้นย้ำถึงสถานะพิเศษของฝ่ายนิติบัญญัติในฐานะตัวแปรหลักสำคัญ ซึ่งเป็นผู้วางกรอบและสรรค์สร้างกระบวนการสร้างอนาคตใหม่ของโลกผ่านการออกกฎหมายและการกำหนดนโยบายให้แก่อนุชนรุ่นหลัง
 
ในการนี้ นางพิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ ได้ร่วมอภิปรายต่อที่ประชุมเกี่ยวกับผลกระทบของ COVID-19 ต่อวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายทศวรรษ รวมถึงความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน โดยที่รัฐสภาไทยได้สนับสนุนรัฐบาลในการออกมาตรการทางการเงินและการคลังจำนวนมากเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม อาทิ การปรับขึ้นเพดานอัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีเมื่อเร็ว ๆ นี้ จากร้อยละ 60 เป็นร้อยละ 70 การขยายสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจของประเทศ และการออกมาตรการสนับสนุนทางเศรษฐกิจเพื่อบรรเทาภาระทางการเงินของประชาชนและผู้ประกอบการและเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ได้แก่ การค้ำประกันสินเชื่อ การปรับโครงสร้างหนี้ การส่งเสริมการลงทุน และการลดภาระดอกเบี้ยของทั้งภาครัฐและเอกชน นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยยังได้ปรับปรุงกฎระเบียบด้านเศรษฐกิจอีกหลายฉบับเพื่อลดข้อจำกัดทางการเงินและส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้แก่ SMEs 
 
การประชุมช่วงที่ 6 หัวข้อ การระดมการเงินทุนเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยเพิ่มกระแสรายได้ที่มีและงบประมาณรายจ่ายเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน (Mobilizing SDGs financing by maximizing existing  revenue streams and budgetary expenditure towards the SDGs) เริ่มต้นขึ้นโดยการนำเสนอของ Mr. Charles Chauvel ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) ซึ่งได้กล่าวถึงการให้ความสำคัญกับการสร้างกลไกเพื่อติดตามและวิจัยด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นประโยชน์ต่อการติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาชาติ พร้อมทั้งให้มีรายงานตัวชี้วัดที่ชัดเจน รวมถึงมีการปรับปรุงข้อมูลต่าง ๆ ให้เป็นปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ ได้ยกตัวอย่างกรณีของบางประเทศซึ่งเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของภาครัฐและรัฐสภาผ่านช่องทางเว็บไซต์และอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เพื่อสะท้อนความต้องการและการมีส่วนร่วมของประชาชนลงในแผนการดำเนินการของรัฐอย่างเป็นรูปธรรม โดยได้ยกตัวอย่างแนวปฏิบัติที่ดีของประเทศไทยที่สะท้อนหลักการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงความเท่าเทียมระหว่างชาย - หญิง (Gender Responsive Budgeting : GRB) ไว้อย่างชัดเจนในรัฐธรรมนูญด้วย ซึ่ง ศ.เกียรติคุณไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์  ได้ร่วมส่งคำถามไปยังผู้นำการอภิปรายเกี่ยวกับแนวทางในการระดมความสนับสนุนทางการเงินจากภาคเอกชนเพื่อขับเคลื่อน SDGs ผ่านกระดานข้อความ (Chat) ด้วย โอกาสนี้ Ms. Kareen Jabre ผู้อำนวยการฝ่ายโครงการของสหภาพรัฐสภา ได้รายงานถึงคู่มือ เรื่อง การใช้ทรัพยากรสาธารณะให้เกิดประโยชน์สูงสุด : แนวทางสำหรับสมาชิกรัฐสภาว่าด้วยการจัดทำงบประมาณเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Guidelines for parliamentarians on budgeting for the SDGs: making the most of public resources) ซึ่งสหภาพรัฐสภาได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นคู่มือการดำเนินงานเบื้องต้นให้แก่รัฐสภาประเทศสมาชิกโดยจะได้นำเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของสหภาพรัฐสภาต่อไป 
 
เครดิต : ภาพและข่าวโดยกลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
Flip E-book ระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการพิจารณา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ขอเชิญสมาชิกตรวจสำเนารายงานการประชุม ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
สำนักงบประมาณของรัฐสภา
ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 (E-Book)
คลิกดูข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานตัว
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats