FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าร่วมสัมมนาออนไลน์ของสหภาพรัฐสภา หัวข้อ “หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและความเท่าเทียม"

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 28 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564

เมื่อวันอังคารที่ 26 ต.ค. 64 เวลา 19.00 – 20.30 นาฬิกา (ตามเวลาประเทศไทย) น.ส.เพชรดาว โต๊ะมีนา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะสมาชิกคณะที่ปรึกษาด้านสาธารณสุขของสหภาพรัฐสภา ได้เข้าร่วมรับฟังการสัมมนาออนไลน์ (Webinar) เรื่อง “หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและความเท่าเทียมไปด้วยกันได้จริงหรือไม่“ (Universal health coverage and equity: Always hand in hand?) การสัมมนาออนไลน์ครั้งนี้จัดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจความเชื่อมโยงระหว่างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ากับความเท่าเทียม ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนยุทธศาสตร์ระหว่างรัฐสภาในการปรับปรุงความเท่าเทียมด้านสุขภาพผ่านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและสิ่งท้าทายที่เกิดขึ้นในบริบทของการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงการติดตามการนำข้อมติของสหภาพรัฐสภาเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ได้รับการรับรองในปี 2562 ไปปฏิบัติให้บรรลุผล การสัมมนานี้มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้นจำนวน 64 คน จากรัฐสภาประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

การสัมมนาแบ่งออกเป็นสองช่วง ในช่วงแรกเป็นการพิจารณาความเท่าเทียมในการบรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ 1) Mr. David Clarke หัวหน้าทีมกฎหมายด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและระบบสุขภาพ องค์การอนามัยโลก (WHO) และ 2) Ms. Ranjana Kumar หัวหน้าการวางแผนระบบสุขภาพ การจัดการและการดำเนินการ โครงการของประเทศ  จากองค์กรพันธมิตรเพื่อวัคซีน (Gavi The Vaccine Alliance) ผู้เชี่ยวชาญจาก WHO มองว่า “Equity” หรือความเท่าเทียม เป็น “การเดินทาง” (Journey) ในการสร้างความมั่นใจว่าจะสามารถบรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ด้วยแต่ละประเทศมีทรัพยากรด้านสาธารณสุขค่อนข้างจำกัด นอกจากนี้ หลายประเทศยังต้องเลือกตัดสินใจว่าจะทำการขยายบริการใดก่อน หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะครอบคลุมกลุ่มบุคคลใดบ้าง และจะเปลี่ยนจากการชำระเงินเป็นรายครั้งไปเป็นการชำระเงินล่วงหน้าได้อย่างไร เป็นต้น ความเท่าเทียมจะเป็นหลักการซึ่งเป็นแนวทางในการตัดสินใจโดยต้องคำนึงถึงความเป็นธรรม การเคารพสิทธิของปัจเจกชน การตัดสินใจที่เหมาะสมสามารถเกิดขึ้นโดยใช้ความสามารถในการตรวจสอบการทำงานของรัฐและกลไกการมีส่วนร่วมซึ่งกลไกที่ว่านี้อาจทำในรูปของสถาบันเช่นคณะกรรมาธิการสามัญ นอกจากนี้ การติดตามและประเมินผลที่เข้มแข็งก็จะช่วยให้บรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้อย่างมีประสิทธิผล ส่วนผู้เชี่ยวชาญจาก GAVI ได้กล่าวถึง Zero-dose children หรือเด็กที่ยังไม่ได้รับวัคซีนมาตรฐาน จำนวน 2 ใน 3 ของเด็กที่ยังไม่ได้รับวัคซีนมาตรฐานอาศัยอยู่ในครอบครัวที่มีรายได้น้อยกว่า 1.90 เหรียญสหรัฐต่อวัน และจำนวน 1 ใน 8 ของเด็กในประเทศที่ GAVI สนับสนุนอยู่เป็นเด็กที่ยังไม่ได้รับวัคซีนมาตรฐาน โดยเกือบครึ่งของจำนวนนี้ต้องเสียชีวิตจากโรคที่มีวัคซีนป้องกันได้ การสนับสนุนด้านการเงินภายในประเทศเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน เช่น ปี 2561 ไนจีเรีย มีการจัดสรรงบประมาณร้อยละ 4.5 ของงบประมาณทั้งหมดของรัฐให้กับด้านการสาธารณสุข และจะจัดเพิ่มเป็นร้อยละ 10 ในปี 2571 เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญจาก GAVI ยังได้แสดงความเห็นในบริบทของการระบาดของโควิด-19 ว่าการระบาดใหญ่ทำให้เห็นความสำคัญของวัคซีนมากยิ่งขึ้น และเป็นการตอกย้ำว่าการฉีดวัคซีนมีความสำคัญอย่างมาก

สำหรับการสัมมนาช่วงที่ 2 เป็นการอภิปรายถึงประสบการณ์ของประเทศในการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อปรับปรุงเรื่องความเท่าเทียมด้านสุขภาพ และผลของการระบาดของโควิด-19 ที่มีต่อความเท่าเทียมทางสุขภาพ โดยผู้อภิปรายส่วนใหญ่มาจากประเทศในภูมิภาคแอฟริกา เช่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกและเบนิน ที่ยังคงประสบปัญหาการเข้าถึงวัคซีนป้องกันโควิด-19 โดยมองว่าไม่มีความเท่าเทียมในโลกจริง คนที่ได้รับวัคซีนมีจำนวนน้อย อีกทั้งเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ก็ยังไม่ได้รับวัคซีนซึ่งเด็กเหล่านี้จะต้องไปโรงเรียน นอกจากโควิด-19 แล้ว สิ่งที่เป็นข้อห่วงกังวลสำคัญในภูมิภาคแอฟริกาคือการจัดการกับโรคมาลาเรียซึ่งสามารถทำได้โดยการสร้างความเท่าเทียมในหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่วนผู้แทนจากซีเรียกล่าวว่าในซีเรียมีปัญหาที่แตกต่างออกไปเนื่องจากมีสงครามในประเทศ อย่างไรก็ดีขณะนี้กำลังจะมีกฎหมายในการปกป้องคุ้มครองการให้บริการด้านการแพทย์ ด้วยเหตุที่มีสงครามในประเทศจึงเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจอันนำมาซึ่งปัญหาใหญ่ในด้านสาธารณสุข ซีเรียต้องการความช่วยเหลือในเรื่องนี้ ส่วนบาห์เรนนั้นเป็นประเทศที่ประสบผลสำเร็จในเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นอย่างดี เหตุที่สามารถบรรลุได้ก็เพราะความร่วมมือที่แข็งแกร่งระหว่างรัฐบาลกับรัฐสภา และผู้แทนจากแอลจีเรีย แสดงความเห็นว่าแอลจีเรียเป็นประเทศหนึ่งที่เคารพความเท่าเทียมโดยบัญญัติให้มีการลดความเหลื่อมล้ำไว้ในรัฐธรรมนูญ จะต้องไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) จะขับเคลื่อนด้วยการใช้กฎหมาย นอกจากนี้ แอลจีเรียยังให้ความสำคัญในเรื่องวัคซีนป้องกันโควิด-19 โดยคำนึงถึงกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในสังคมเป็นลำดับแรก

เครดิตภาพและข่าว : กลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
Flip E-book ระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการพิจารณา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ขอเชิญสมาชิกตรวจสำเนารายงานการประชุม ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
สำนักงบประมาณของรัฐสภา
ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 (E-Book)
คลิกดูข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานตัว
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats