FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
นายวิเชียร ชวลิต ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ พร้อมด้วยตัวแทนพรรคร่วมรัฐบาล ยื่นร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ต่อ นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อนำกราบเรียนประธานรัฐสภา

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 23 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564

วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม 2564 เวลา 11.10 น. ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายวิเชียร ชวลิต ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ พร้อมด้วยตัวแทนพรรคร่วมรัฐบาล อาทิ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ นายนิกร จำนง ส.ส. พรรคชาติไทยพัฒนา นายพรชัย ตระกูลวรานนท์ และนายสุรสิทธิ์ นิธิวุฒิวรรักษ์ ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ นายศุภชัย ใจสมุทร ส.ส. พรรคภูมิใจไทย และศ.โกวิทย์ พวงงาม ส.ส. พรรคพลังท้องถิ่นไท ยื่นร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ต่อ นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อนำกราบเรียนประธานรัฐสภา

โดยการยื่นร่างพ.ร.ป. ทั้ง 2 ฉบับนี้ เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการตามรัฐสภา ซึ่งในหลักการพรรคร่วมรัฐบาลเห็นว่า การแก้ไขเพิ่มเติมนั้นจะทำเฉพาะในส่วนที่กระทบจากการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะการคำนวณจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งในรัฐธรรมนูญกำหนดว่าให้มีสัดส่วนสัมพันธ์กันโดยตรง พรรคร่วมรัฐบาลก็ได้ใช้หลักการนั้นมาบัญญัติ ส่วนร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมืองนั้น มีประเด็นที่สำคัญ คือ ประชาชนได้รับเดือดร้อนในการสมัครเป็นสมาชิกพรรค จึงได้เสนอให้ปรับลดค่าธรรมเนียมการสมัคร จากปีละ 100 บาท เป็นปีละ 20 บาท สำหรับประเด็นที่มีความกังวลเรื่อง Primary Vote ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2562 ที่ได้ใช้กระบวนการที่เป็นไปตามบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ คือ ให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการพิจารณาคัดสรรให้ได้ผู้สมัครแต่ละเขต ซึ่งยังคงหลักการนั้นอยู่ แต่ในส่วนของวิธีการที่กำหนดให้ทำ Primary Vote ด้วยการลงคะแนนนั้น ทางพรรคร่วมรัฐบาลเห็นว่าเป็นกระบวนการที่เกินกว่าหลักการที่รัฐธรรมนูญกำหนด จึงเสนอให้มีการรับฟังความคิดเห็นสมาชิกฯ โดยผ่านตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด หรือตัวแทนสาขา เพื่อให้ได้มาซึ่งผู้สมัครทั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อ ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.ป.ทั้ง 2 ฉบับ ถือเป็นกฎหมายสำคัญที่จะไปเปลี่ยนบริบทในการเลือกตั้งครั้งต่อไป โดยคาดว่าประธานรัฐสภา จะบรรจุระเบียบวาระได้ประมาณ ต้นเดือน ก.พ. 65 และคาดว่าจะจัดทำกฎหมายทั้ง 2 ฉบับนี้ แล้วเสร็จภายใน 180 วัน โดยพิจารณาวาระแรกช่วงเดือน ก.พ. 65 จากนั้น จะพิจารณาวาระ 2 – 3 ซึ่งคาดว่าไม่เกินเดือน ก.ค. 65 จึงจะแล้วเสร็จ

download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
Flip E-book ระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการพิจารณา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ขอเชิญสมาชิกตรวจสำเนารายงานการประชุม ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
สำนักงบประมาณของรัฐสภา
ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 (E-Book)
คลิกดูข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานตัว
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats