|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร |
นางมุกดา พงษ์สมบัติ ประธานคณะ กมธ. กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ และคณะ รับยื่นหนังสือ จาก น.ส.เสาวลักษณ์ ทองก๊วย กรรมการว่าด้วยสิทธิคนพิการแห่งสหประชาชาติ
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 30 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565
|
วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน 2565 เวลา 09.40 นาฬิกา ณ จุดรับยื่นหนังสือ ชั้น 1 (โซนกลาง) อาคารรัฐสภา นางมุกดา พงษ์สมบัติ ประธานคณะ กมธ. กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ และคณะ รับยื่นหนังสือ จาก น.ส.เสาวลักษณ์ ทองก๊วย กรรมการว่าด้วยสิทธิคนพิการแห่งสหประชาชาติ เรื่อง ข้อเสนอแนะต่อการแก้ไข ปรับปรุง พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 สืบเนื่องจากข้อมูลสถานการณ์คนพิการล่าสุด รายงานโดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ระบุว่าคนพิการรับการออกบัตรประจำตัวคนพิการ จำนวน 2,102.384 คน คิดเป็นร้อยละ 3.18 ของประชากรทั้งประเทศ จำแนกคนพิการเพศชาย จำนวน 1,098,117 คนหรือ ร้อยละ 52.23 และเพศหญิง จำนวน 1,004,267 คน หรือร้อยละ 47.77 อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ. 2556 ไม่มีรายละเอียดครอบคลุมมิติทางเพศกำเนิดหญิง ชาย เพศสภาพ และอายุ โดยปราศจากการกล่าวถึงสตรีพิการในทุกมิติ แม้ว่ากรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติได้ร่วมมือกับเครือข่ายสตรีพิการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสตรีพิการ และมีการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ไม่สามารถยกระดับการเข้าถึงสิทธิเหมือนพลเมืองไทยทั่วไป ยุติความรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงทางเพศ และการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของเด็กหญิงและสตรีพิการ เนื่องจากน โยบายที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ จำกัดสิทธิสตรีพิการและเด็กหญิงพิการ ส่งผลให้สตรีพิการและเด็กหญิงพิการ ถูกกีดกัน ในหลายเรื่อง อาทิ1.ถูกจำกัดสิทธิการเข้าถึงทรัพยากรและแหล่งทุน 2. ถูกจำกัดสิทธิการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจระดับนโยบายที่ส่งผลกระทบต่อสตรีและเด็กพิการ 3.ถูกจำกัดสิทธิในการรวมกลุ่มการสมาคม และ 4.ถูกแสวงหาประโยชน์ กระทำความรุนแรงและการล่วงละเมิดในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้น สมาคมส่งเสริมศักยภาพสตรีพิการและมูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคมร่วมกันศึกษาสถานการณ์ความรุนแรงต่อเด็กหญิงและสตรีพิการ ขอเรียกร้องต่อคณะ กมธ. ดังนี้ 1. เพิ่มนิยามการเลือกปฏิบัติทับซ้อนกับความพิการ เพศ และอายุ 2. แก้ไข ปรับปรุง พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 มาตรา 4 นิยาม องค์การคนพิการแต่ละประเภท ระเบียบองค์กรสมาชิกระดับชาติตามประเภทความพิการที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง 3. ตัด มาตรา 15 วรรคสาม การเลือกปฏิบัติที่มีเหตุผลทางวิชาการ จารีตประเพณีหรือประโยชน์สาธารณะสนับสนุนให้กระทำได้ตามความจำเป็นและสมควรแก่กรณี ไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง แต่ผู้กระทำการนั้นจะต้องจัดให้มีมาตรการช่วยเหลือเยี่ยวยาหรือรักษา ซึ่งสิทธิหรือประโยชน์แก่คนพิการตามความจำเป็น เท่าที่จะกระทำได้ 4. สร้างหลักประกัน สัดส่วนสตรีพิการในมาตรา 5 สมาชิกคณะกรรมการ ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ เพราะองค์กรของสตรีพิการถูกจำกัดสิทธิจากระเบียบองค์กรสมาชิกระดับชาติ 5. แก้ไข ปรับปรุง มาตรา 15 การเลือกปฏิบัติต่อคนพิการเพราะเหตุแห่งเพศสภาพ และ มาตรา 16 อนุกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติ
นางมุกดา พงษ์สมบัติ กล่าวภายหลังการรับยื่นหนังสือว่า คณะ กมธ. และ ส.ส. พรรคเพื่อไทยยินดีให้การสนับสนุน และผลักดันการแก้ไข กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ เพื่อเพิ่มศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้มีความเท่าเทียมและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป |
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [ คลิกดูแผนที่]
|
|
|
|