|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร |
นายจิรวัฒน์ อรัณยกานนท์ โฆษกคณะ กมธ. การคุ้มครองผู้บริโภค และคณะ แถลงข่าว
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 30 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565
|
วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน 2565 เวลา 14.20 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายจิรวัฒน์ อรัณยกานนท์ โฆษกคณะ กมธ. การคุ้มครองผู้บริโภค และคณะ แถลงข่าวเกี่ยวกับข้อเสนอแนะของคณะ กมธ. เกี่ยวกับความเดือดร้อนของผู้บริโภคที่ได้รับจากการซื้อขายสินค้าออนไลน์ ว่าเนื่องด้วยทุกวันนี้ตามรายงานของ 2022 Digital Global Overview ของ We Are Social พบว่า ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีจำนวนมากถึง 54.5 ล้านคน (ร้อยละ 77.8 ของจำนวนประชากรทั้งหมด) แต่มูลค่าการซื้อขายสินค้าออนไลน์ หรือ Ecommerce วันนี้ถ้าเปรียบเทียบกับ 5 ปีที่แล้ว จะพบว่าเมื่อ 5 ปีที่แล้วมีมูลค่า 2 ล้านล้าน บาท แต่วันนี้เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว สูงถึง 4 ล้านล้าน บาทไปแล้ว วันนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นมากสำหรับกระบวนการซื้อขายสินค้าออนไลน์นั้น ที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ ผู้ซื้อหรือผู้บริโภค ปัญหานั้นก็คือ 1.การซื้อของแล้วไม่ได้รับสินค้า 2.สินค้าไม่ตรงปก 3.สินค้าปลอม ละเมิดลิขสิทธิ์ และไม่ได้คุณภาพ จะเอาผิดกับผู้ขาย แต่ไม่สามารถที่จะติดตามตัวผู้ขายได้ และทางแพลตฟอร์มเองก็อ้างว่าตนเองเป็นเพียงตัวกลางในการซื้อขายหรือเป็นตลาดกลางในการซื้อขายที่ให้ผู้ขายมาลงทะเบียน โดยจากที่เราได้รับข้อมูลจาก สภาองค์กรของผู้บริโภค ซึ่งเป็นหน่วยงานเอกชนพบว่า สถิติเรื่องร้องเรียนที่เข้ามาตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2564 ถึง พฤษภาคม 2565 (ระยะเวลาเพียง 10 เดือน) พบว่ามีสถิติสูงถึง 10,101 เรื่อง กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ได้มีการเปิดเว็บไซต์ www. Thaipoliceonline.com ในการแจ้งความออนไลน์ ซึ่งสถิติตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม ถึง 10 มิถุนายน 2565 (3 เดือน) มีผู้แจ้งความผ่านเว็บไซต์ทั้งหมด 39,926 เรื่อง เป็นคดีออนไลน์สูงถึง 35,837 คดี ซึ่งเป็นคดีหลอกลวงด้านการเงิน 19,128 เรื่อง หลอกลวงจำหน่ายสินค้า 14,233 เรื่อง โดยผลการอายัดบัญชีของผู้กระทำความผิดมีการขออายัดไปทั้งหมด 12,117 บัญชี ซึ่งยอดเงินอายัดทั้งหมดสูงถึง 3,000 ล้าน แต่อายัดเงินได้เพียง 84 ล้านบาทเท่านั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากการซื้อขายสินค้าออนไลน์ที่ผู้ซื้อและทางตำรวจไม่สามารถติดตามตัวผู้ขายได้ เพราะการสมัครเป็นผู้ประกอบการ หรือผู้ขายผ่านแพลตฟอร์มนั้นมีการใช้ตัวตนปลอม คือ การเอาบัตรประชาชนของผู้อื่นมาใช้ และนำสมุดบัญชีของผู้อื่นเป็นหลักฐานในการสมัคร ดังนั้น คณะ กมธ.จึงมีข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว 4 ข้อดังนี้ 1. ผู้ขายสินค้าออนไลน์ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ที่กระทรวงพาณิชย์ ในฐานะผู้ขายให้ถูกต้องตามกฎหมาย 2.ในกรณีที่ขายสินค้าปลอม ที่เป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาหรือเป็นสินค้าผิดกฎหมาย ต้องมีกฎหมายให้เจ้าของแพลตฟอร์มต้องร่วมรับผิดกับผู้ขายด้วย 3. ควรให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์หรือกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ มีอำนาจเข้าถึงข้อมูลผู้ขาย เพื่อให้ภาครัฐมีฐานข้อมูลของผู้ขายในกรณีที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น 4. เรียกร้องให้ทางแฟลตฟอร์มมีมาตรการในการคุ้มครองผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น จะต้องมีระบบหลังบ้านในการกลั่นกรองข้อมูลผู้ขาย หากพบว่าเป็นตัวปลอม บัญชีปลอมจะต้องมีมาตรการจัดการกับบุคคลเหล่านั้นอย่างเด็ดขาด |
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [ คลิกดูแผนที่]
|
|
|
|