|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร |
นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ โฆษกคณะ กมธ. การทหาร รับยื่นหนังสือจากนายอิศรพงค์ ณ เชียงใหม่ ประธานกลุ่ม พี่ น้อง เพื่อน นักรบไทยทุกหมู่เหล่า และคณะ เรื่อง ขอความอนุเคราะห์เงินผดุงเกียรติให้กับทหารผ่านศึกนอกราชการบัตรชั้นที่ สอง สาม สี่
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 27 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565
|
วันพุธที่ 27 กรกฎาคม 2565 เวลา 13.30 นาฬิกา ณ จุดรับยื่นหนังสือ ชั้น 1 (โซนกลาง) อาคารรัฐสภา นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ โฆษกคณะ กมธ. การทหาร รับยื่นหนังสือจากนายอิศรพงค์ ณ เชียงใหม่ ประธานกลุ่ม พี่ น้อง เพื่อน นักรบไทยทุกหมู่เหล่า และคณะ เรื่อง ขอความอนุเคราะห์เงินผดุงเกียรติให้กับทหารผ่านศึกนอกราชการบัตรชั้นที่ สอง สาม สี่ เนื่องจากในปัจจุบันนี้มีทหารผ่านศึกนอกราชการอยู่จำนวน 607,083 คน ซึ่งได้พ้นหน้าที่จากการรับใช้ชาติออกมาแล้ว และในปัจจุบันได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาล คือ เงินค่าครองชีพระยะสั้น (เงินค่ารถ) จำนวน 1,000 บาทต่อคนต่อปี เงินค่ารักษาพยาบาล 3,500 บาท ต่อปีต่อหนึ่งครอบครัว ซึ่งนับว่าน้อยมากกับคุณประโยชน์และความเสียสละที่ได้เคยสร้างไว้กับประเทศชาติ แตกต่างจากทหารผ่านศึกบัตรชั้นที่หนึ่ง ทหารผ่านศึกนอกประจำการที่พิการจากการสู้รบ ซึ่งไม่ได้นำมานับรวมกับจำนวนที่กล่าวไว้ในเบื้องตัน ทหารผ่านศึกบัตรชั้นที่หนึ่งจะได้รับการช่วยเหลือเป็นอย่างดี ผิดกับบัตรชั้นสอง สาม สี่ ที่มีความเป็นอยู่อย่างยากลำบาก ไม่ได้รับการดูแลจากส่วนที่รับผิดซอบเท่าที่ควร มาเป็นเวลายาวนาน เหมือนถูกแยกออกมาเป็นอีกชั้นหนึ่งของสังคม ทั้ง ๆ ที่ร่วมรบมาด้วยกัน สนามรบเดียวกันเพียงแต่ไม่พิการเท่านั้นเอง แต่กลับมีดวามเป็นอยู่แตกต่างจากบัตรชั้นที่หนึ่งอย่างมาก ปัญหาที่ทหารผ่านศึกนอกราชการบัตรชั้น สอง สาม สี่ พบเป็นประจำคือ การเบิกเงินค่ารถ 1,000 บาทต่อคนต่อปีนั้น การเบิกแต่ละครั้งต้องเดินทางออกไปเบิกนอกพื้นที่ภูมิลำเนาของตัวเอง จะเบิกในเขตภูมิลำเนาของตัวเองไม่ได้ บางครั้ง เบิกได้ 300 บาทบ้าง 500 บาทบ้าง บางคนตัดปัญหาไม่เบิกเลยหลายปี ก็มีเป็นจำนวนมาก มีบางส่วนเท่านั้นที่จะเบิกได้ครบตามจำนวนในแต่ละปี เงินค่ารักษาพยาบาล 3,500 บาท ต่อหนึ่งครอบครัวทหารผ่านศึกต่อปี ในกรณีภรยา ลูก หรือตัวทหารผ่านศึกเอง ป่วยอยู่ไกลจากโรงบาลทหารผ่านศึกที่มีอยู่เพียงในกรุงเทพฯ ที่เดียวและต้องออกเงินค่ารักษาพยาบาลไปก่อนแล้วจึงนำใบเสร็จมาเบิกกับสำนักงานทหารผ่านศึกคืนได้ 3,500 บาทต่อปี ซึ่งก็มีปัญหามากมาย เช่น ภรรยาไม่ได้จดทะเบียนสมรส บุตรที่เกิดจากภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ก็ไม่สามารถจะเบิกได้ ทั้งที่รัฐบาลได้จัดเป็นงบประมาณประจำปีในส่วนนี้ไว้แล้วก็ตาม งบประมาณที่รัฐบาลจัดให้ในส่วนนี้จึงเป็นงบประมาณที่แก้ปัญหาได้ตรงตามความเป็นจริงเท่าที่ควร ทำให้ทหารผ่านศึกนอกราชการเหล่านี้มีความเป็นอยู่อย่างยากลำบาก เนื่องจากทหารผ่านศึกเหล่านี้ส่วนใหญ่มีความรู้น้อย ประกอบกับมีอายุมากขึ้น หลังจากพ้นหน้าที่มาแล้ว จึงไม่มีอาชีพที่ยั่งยืน บางคนรับใช้ชาติมานับสิบ ๆ ปี การที่จะออกมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยมือเปล่า ๆ นั้นเป็นเรื่องยากมาก จึงพบเห็นได้เป็นประจำว่าทหารผ่านศึกนอนตายได้สะพานลอยบ้าง เดินเหม่อลอยเก็บขยะขายบ้าง บ้างครั้งเจ็บป่วย เงินจะซื้อยากินไม่มี พี่น้องลูกเมีย ไม่ต้องการ กลายเป็นคนเร่ร่อนไร้จุดหมายของชีวิต บางครั้งตายยังไม่มีเงินทำศพ เพื่อนๆต้องช่วยกันเรียไรช่วยกันไป แม้องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกจะมีค่าทำศพให้คนละ 15,000 บาท ต่อคนเมื่อตาย แต่ส่วนมากจะไม่ได้เบิกเพราะลูกเมียก็ไม่รู้ถึงสีทธิเหล่านั้น ทำให้ทหารผ่านศึกเหล่านี้มีความเป็นอยู่อย่างยากลำบากมาเป็นเวลานาน ไม่สมกับคำที่ว่าทหารผ่านศึก เป็นผู้มีเกียรติ เพราะเป็นผู้ที่เสียสละเพื่อชาติบ้านเมืองโดยแท้ ปัจจุบันสังคมที่เปลี่ยนไป ตลอดจนค่าครองชีพได้ถีบตัวเองสูงขึ้น ทำให้ความเป็นอยู่ยิ่งยากลำบากมากขึ้นไปอีก จากเหตุผล ที่ได้กล่าวมาข้างต้น นั้นจึงใคร่ขอความอนุเคราะห์ ขอค่าครองชีพระยะสั้นเงิน (เงินค่ารถ) คนละ 1,000 บาทต่อคนต่อปี และเงินด่ารักษาพยาบาลปีละ 3,500 บาทต่อครอบครัว นำมารวมกันจะได้เงินจำนวนหนึ่ง ยังขาดอยู่เท่าไรจึงขอรับการสนับสนุนเงินงบประมาณจากรัฐบาล เสนอให้ตัดยอดทหารผ่านศึกที่มีบำนาญ และทหารผ่านศึกนอกราชการที่พิการภายหลังที่พ้นหน้าที่มาแล้วออก เพราะในส่วนนี้จะได้รับการช่วยเหลือจากองค์การทหารผ่านศึกคนละ 3,500 บาทต่อเดือน
ด้าน นายมงคลกิตติ์ กล่าวว่า จะรับเรื่องดังกล่าวดำเนินการเข้าที่ประชุมคณะกรรมาธิการ ในสัปดาห์หน้า เพื่อให้ประธานพิจารณาเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลต่อไป พร้อม ฝากไปยังทหารผ่านศึกทุกท่าน ว่ากรรมาธิการจะทำอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ จะรวบรวมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประมาณ 20 ท่าน เพื่อร่างพระราชบัญญัติทหารผ่านศึก เพื่อช่วยเหลือเรื่องเงินให้กับทหารผู้ที่เคยผ่านศึก โดยจะยื่นในรัฐบาลนี้ แต่หากไม่ทันจะบรรจุเป็นนโยบายพรรคในการเลือกตั้งคราวถัดไป
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [ คลิกดูแผนที่]
|
|
|
|