|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร |
ศ.โกวิทย์ พวงงาม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังท้องถิ่นไท แถลงข่าว
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 30 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2566
|
วันจันทร์ที่ 30 มกราคม 2566 เวลา 10.40 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา ศ.โกวิทย์ พวงงาม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังท้องถิ่นไท แถลงข่าวกรณีความสูญเสียที่เกิดจาก "สภาล่มซ้ำซาก" ในแต่ละครั้งว่า จะก่อให้เกิดความสูญเสียงบประมาณแผ่นดินและการสูญเสียโอกาส ที่ประชาชนจะได้ประโยชน์จากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร หรือการประชุมร่วมรัฐสภา และหากเกิดสภาล่มบ่อย ๆ หรือที่เรียกว่า "สภาล่มซ้ำซาก" ซึ่งจะเห็นว่า การประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีสภาล่มมาแล้วถึงประมาณ 28 ครั้ง และประชุมร่วมกันของรัฐสภาทั้ง ส.ส. และ ส.ว. สภาล่มมาแล้วประมาณ 2 ครั้ง จึงทำให้จนถึงขณะนี้ "สภาล่ม" ที่มีองค์ประชุมไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่รวมแล้ว ประมาณ 30 ครั้ง ได้ก่อให้เกิดความสูญเสียจาก "สภาล่มซ้ำซาก" ดังนี้ 1. ความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากค่าใช้จ่ายต่อหัวให้กับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และอาจจะรวมถึงสมาชิกวุฒิสภาในครั้งที่มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา มีค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าอาหารเช้า อาหารกลางวัน และอาหารเย็น ที่จัดเป็นสวัสดิการให้แก่สมาชิกต่อหัวต่อคน ๆ ละประมาณ 1,000 บาทต่อวัน มีจำนวนสมาชิก 500 คนรวมเป็นเงินต่อวันประมาณ 500,000 บาท ถ้าสภาล่มไปแล้ว 30 ครั้ง จะทำให้สูญเสียงบประมาณไปแล้วประมาณ 15,000,000 บาท โดยการคิดประมาณการอย่างคร่าว ๆ 2. ค่าพาหนะเดินทางมาร่วมประชุมของสมาชิกทั้งค่าเครื่องบิน ค่ารถไฟ และค่ารถยนต์ซึ่งหากคิดจากจำนวนสมาชิกทั้งหมด 500 คน มีสมาชิกสภาจำนวนหนึ่งที่ต้องเบิกค่าใช้จ่ายดังกล่าวประมาณ 200 คน ประมาณคนละ 2,000 บาท ก็จะมีค่าใช้จ่ายครั้งละประมาณ 400,000 บาท เมื่อมีสภาล่ม 30 ครั้ง คิดเป็นเงินค่าพาหนะเดินทางของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ต้องจ่ายโดยประมาณ 12,000,000 บาท ซึ่งยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ค่าเบี้ยประชุมของคณะกรรมาธิการและค่าอาหาร โดยภาพรวมค่าใช้จ่ายโดยประมาณให้แก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งขอให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้เปิดเผยตัวเลขค่าใช้จ่ายจริงให้ประชาชนได้รับทราบ ความสูญเสีย "โอกาส" ที่ประชาชนจะได้รับประโยชน์ เพราะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและในฐานะสมาชิกรัฐสภา จะต้องมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการมาประชุมสภาผู้แทนราษฎร และประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติต่าง ๆ เพื่อให้ออกมาบังคับใช้เพื่อจะก่อประโยชน์แก่ประชาชน ซึ่งได้มีพระราชบัญญัติที่รอการพิจารณาจากที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา และสภาผู้แทนราษฎรอีกมาก ดังเช่นร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 พ.ศ. .... ที่เกี่ยวกับการขออนุญาตทำประมงพื้นบ้าน ทำประมงในทะเลนอกชายฝั่ง การคุ้มครองชาวประมง ธุรกิจการประมง สนับสนุนผู้ประกอบการ เป็นต้น ร่างพระราชบัญญัติกัญชา กัญชง พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ร่างพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารสาธารณะ พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติกีฬามวย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... พระราชบัญญัติต่าง ๆ เหล่านี้ อยู่ระหว่างรอการพิจารณาของการประชุมสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้นที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนทั้งสิ้น ซึ่งหากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีความร่วมมือกันเพื่อมาประชุมให้ครบ องค์ประชุมเพื่อมาทำหน้าที่ให้กฎหมายที่กล่าวถึงต่าง ๆ ได้รับการพิจารณา ก็จะทำให้ประซาชนได้รับประโยชน์มากกว่าการที่ให้ประชาชนสูญเสียโอกาสที่เกิดจากสภาล่มซ้ำซาก อีกต่อไป |
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [ คลิกดูแผนที่]
|
|
|
|