๒๕๖๐
หน้าหลัก
ประกาศ/คำสั่ง คสช.
ถ่ายทอดสดการประชุม
สมัยประชุม (สามัญ/นิติบัญญัติ)
รับเรื่องราวร้องทุกข์
เข้าชื่อเสนอกฎหมาย
ศูนย์ข้อมูลนิติบัญญัติ
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ
ข่าวสารบ้านเมือง
ข่าววิทยุรัฐสภา
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
รับสมัครงาน
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ของที่ระลึก
แผนผังเว็บไซต์
ติดต่อรัฐสภา
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ

วีดิทัศน์เพื่อประชาชน



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

 

ข้อมูลข่าวสารการปฏิรูปประเทศและการจัดทำร่าง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ
เสียงประชาชน
:: ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศเพื่อประชาชน ::
 
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
นายอมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ แถลงข่าวภายหลังการประชุมกรธ. ประจำวันพุธที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๘

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 14 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2558

                วันพุธที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๕.๓๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา ๑ นายอมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ แถลงข่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ประจำวันพุธที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๘ โดยได้นำเสนอรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ในการประชุมครั้งที่ ๗ ดังนี้

                เรื่องที่หนึ่ง พิจารณาปัญหาอุปสรรค และแนวทางการบัญญัติรัฐธรรมนูญขององค์ตรวจเงินแผ่นดิน

 

                เรื่องที่สอง พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา (พิจารณาต่อเนื่อง)

                ที่ประชุมได้พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ซึ่งเป็นร่างที่ "คณะอนุกรรมการยกร่างบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ" นำเสนอต่อจากการประชุมครั้งที่แล้วในหมวด ๑ บททั่วไป มาตรา ๖ และหมวด ๒

 

                เรื่องที่สาม พิจารณาโครงสร้างในการร่างรัฐธรรมนูญ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

                ๑. รูปแบบของรัฐ และสถาบันพระมหากษัตริย์

                ๒. หลักประกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

                ๓. แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

                ๔. องคาพยพทางทางการเมือง (นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ)

                ๕. ความสัมพันธ์ขององคาพยพทางการเมือง

                ๖. องค์กรอิสระ

                ๗. องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

                ๘. การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

                ๙. บทเฉพาะกาล

                ในการนี้ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้มีมติตั้งคณะอนุกรรมการไปแล้ว จำนวน ๕ คณะ ตามที่เคยรายงานรายละเอียดดังกล่าวไปแล้ว และมีมติตั้งคณะอนุกรรมการเพิ่มเติม อีก ๒ คณะ (รวมทั้งสิ้น ๗ คณะ) ประกอบด้วย

                ๑. คณะอนุกรรมการจัดทำสื่อดิจิทัลเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

                    ๑. จัดทำสื่อดิจิทัล และสื่ออื่นเพื่อเผยแพร่เนื้อหาและความคืบหน้าการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อให้ประชาชนได้ทราบความเคลื่อนไหวและเข้าใจสาระของรัฐธรรมนูญอย่างได้ผล

                    ๒. เผยแพร่สื่อที่ผลิตได้ตามข้อ ๑ ในสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เว็บไซต์ (Website) และสื่ออื่น

                    ๓. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญมอบหมาย

                ๒. คณะอนุกรรมการศึกษาประเด็นปัญหาการสร้างความปรองดอง มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

                    ๑. ศึกษา วิเคราะห์ ประเด็นปัญหาการสร้างความปรองดอง สาเหตุแห่งความขัดแย้ง ความเสียหายที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่การสร้างความปรองดองในภาคส่วนต่าง ๆให้มีกระบวนการสร้างความปรองดองเกิดขึ้น

                    ๒. ดำเนินการรวบรวมและประมวลวิเคราะห์ข้อมูลปรากฏการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทย รวมทั้งเหตุการณ์ความขัดแย้งเชิงอุดมการณ์ทางการเมือง โดยเน้นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับบริบทและสภาพปัญหาความขัดแย้งของเหตุการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนกระบวนการ วิธีการ กฎหมาย และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหา

                    ๓. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญมอบหมาย

               

                ทั้งนี้ ได้กำหนดให้มีการประชุมครั้งต่อไป ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุมงบประมาณ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๓

 

download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ เงินอุดหนุนการวิจัย รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่
ชมรมรัฐสภาอาสา
   
 
(เริ่มนับ 17 ต.ค. 54)
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร. 0 2244 2500
อีเมล์ : webmaster@parliament.go.th   เว็บไซต์ : http://www.parliament.go.th