กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการถอดบทเรียน จัดแสดงนิทรรศการ และมอบรางวัลนวัตกรรมดีเด่น ในวันนี้ ตามที่ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้กล่าวรายงาน ทำให้ทราบว่าโครงการฯ วันนี้เกิดจากคำรับรองการปฏิบัติราชการของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
ภายใต้ ตัวชี้วัดที่ 2.2 ระดับ ความสำเร็จของการพัฒนานวัตกรรมบริการดิจิทัล (Digital Service Innovation) ของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาซึ่งในปีนี้มีหน่วยงานและบุคลากรที่ให้ความสนใจและส่งข้อเสนอนวัตกรรมเข้าร่วมการคัดเลือกรางวัลนวัตกรรมดีเด่น รวมทั้งสิ้น 16 เรื่อง ประกอบด้วย นวัตกรรมการบริการดิจิทัลเชิงสร้างสรรค์ จำนวน 14 เรื่องและนวัตกรรมการบริการดิจิทัลเชิงแผนงานตามยุทธศาสตร์ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 2 เรื่องแสดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่ในการพัฒนาตนเองและพัฒนาองค์กรเพื่อช่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของสำนักงาน และสนับสนุนภารกิจงานของฝ่ายนิติบัญญัติให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีที่ทุกคนรู้จักริเริ่มสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมขึ้นมาใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลา ประหยัดงบประมาณ และยกระดับประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ ตลอดจนสามารถนำมาสนับสนุนการปฏิบัติงานของสถาบันนิติบัญญัติได้เป็นอย่างดี ดังนั้นจึงขอฝากให้บุคลากรของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทุกคนได้ร่วมแรง ร่วมใจ ทุ่มเทความรู้ความสามารถในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ อยู่เสมอ ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาและขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวไปสู่การเป็น SMART Parliament ที่สมบูรณ์และยั่งยืนต่อไป
1. ผลงานเรื่อง เว็บไซต์การเยี่ยมชมหอสมุดรัฐสภาในรูปแบบเสมือนจริง Virtual Tour 360 องศา เสนอโดย กลุ่มงานห้องสมุด สำนักวิชาการ
2. ผลงานเรื่อง การรับ-ส่งรายงานการประชุมในรูปแบบไฟล์ PDF ทางระบบสารสนเทศรัฐสภา (PIS) ผ่านระบบบริหารจัดการไฟล์อัจฉริยะ (ECM)
เสนอโดย สำนักรายงานการประชุมและชวเลข ร่วมกับ สำนักสารสนเทศ ประเภท นวัตกรรมการบริการดิจิทัล (Digital Service Innovation) เชิงสร้างสรรค์ ระดับดีเด่น ได้แก่ 1. ผลงานเรื่อง เอกสารข่าวรัฐสภาภาษาอาหรับฉบับดิจิทัล เสนอโดย นายชูชาติ พุฒเพ็ง นักวิเทศสัมพันธ์เชี่ยวชาญ กลุ่มงานภาษาสเปน เยอรมัน และอาหรับ สำนักภาษาต่างประเทศ
2. ผลงานเรื่อง ระบบสุขภาพและลงทะเบียนฉีดวัคซีน สำนักบริการทางการแพทย์ประจำรัฐสภา เสนอโดย สำนักบริการทางการแพทย์ประจำรัฐสภา
3. ผลงานเรื่อง โครงการอาสาสมัครหอสมุดรัฐสภา กิจกรรม Hack เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ 2560 และจัดทำเว็บไซต์เปรียบเทียบบทบัญญัติและเจตนารมณ์การร่างรัฐธรรมนูญ เสนอโดย กลุ่มงานห้องสมุด สำนักวิชาการ
4. ผลงานเรื่อง PBO DataBridge: ระบบอัตโนมัติเชื่อมข้อมูลงบประมาณสู่สาธารณะ เสนอโดย สำนักงบประมาณของรัฐสภา
5. ผลงานเรื่องระบบยืมวัสดุอุปกรณ์ของสำนักพัฒนาบุคลากรเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เสนอโดย คณะทำงานขับเคลื่อนนวัตกรรมของสำนักพัฒนาบุคลากร ประเภท นวัตกรรมการบริการดิจิทัล (Digital Service Innovation) เชิงสร้างสรรค์ ระดับดีมาก ได้แก่
- ผลงานเรื่อง Open Chat Plus+ เปิดห้องนโยบายและแผน ต่อยอด เพื่อเติบโต เสนอโดย คณะทำงานบริหารจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) และขับเคลื่อนนวัตกรรมของสำนักนโยบายและแผน - ผลงานเรื่อง การยื่นคำขอหนังสือเดินทางราชการและอื่น ๆ ผ่านระบบดิจิทัล เสนอโดย คณะทำงานการจัดการความรู้ (KM) สำนักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
- ผลงานเรื่อง การใช้เทคโนโลยีสนับสนุนงานล่ามเกี่ยวกับการประชุมด้านนิติบัญญัติ (สื่อออนไลน์ หูฟัง) เสนอโดย สำนักภาษาต่างประเทศ
- ผลงานเรื่อง ชุดความรู้เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานให้กับคณะกรรมาธิการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เสนอโดย สำนักกรรมาธิการ 2
- ผลงานเรื่อง 100 คำทับศัพท์ ฉบับดิจิทัล เสนอโดย สำนักการพิมพ์
- ผลงานเรื่อง Wonderfiles V.2 เสนอโดย สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ
- ผลงานเรื่อง ระบบบริการข้อมูลการประชุมดิจิทัล (Digital Meeting Data Service) เสนอโดย สำนักกรรมาธิการ 1
- ผลงานเรื่อง การให้บริการเยี่ยมชมรัฐสภาผ่านระบบการจองออนไลน์ เสนอโดย สำนักประชาสัมพันธ์ ร่วมกับ สำนักสารสนเทศ
- ผลงานเรื่อง ระบบติดตามเรื่องร้องเรียนของคณะกรรมาธิการ
เสนอโดยสำนักกรรมาธิการ 3